ประวัติ

รวม1

เมื่อปีพุทธศักราช 2428 ในท้องถิ่น หุ้ยโจว มณฑลกวางตุ้ง มีชาวจีนผู้หนึ่ง แซ่เจ็ง ไม่ปรากฏนามชัดเจน บ้านของท่านอยู่ไม่ไกลจากวัดเก่ามังกรนัก คตินิยมของคนจีนในสมัยนั้น ชายหนุ่มในหมู่บ้านต่างลงเรืออพยพเพื่อหนีความยากจนแร้นแค้น ท่านจึงอยากออกไปเสี่ยงหาชีวิตที่ดีกว่าบ้าง ทั้งที่ยังไม่มีเป้าหมายว่าจะไปยังที่แห่งใด เพียงให้พ้นจากความยากลำบากก็เพียงพอ

การรอนแรมจากถิ่นฐานเดิมนั้นต้องล่องเรืออกกลางทะเล ไม่ทราบว่าจะเป็นตายร้ายดี  จะมีชีวิตรอดพ้นจากคลื่นลมหรือเรือล่มกลางทะเลหรือไม่ .. เนื่องจากบ้านท่านอยู่ใกล้วัดเก้ามังกร ท่านจึงอธิษฐานจิต หากแม้นว่ามีชีวิตรอดปลอดภัย เรือเข้าถึงฝั่งใดก็จะตั้งรกรากทำมาหากิน ณ ที่นั้น โดยท่านได้ขอให้พระท่ามกงเยี่ยซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้านท้องถิ่นนั้น ให้คุ้มครองป้องกันภัยตลอดการเดินทาง และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ สิ่งที่ท่านพกติดตัวนำมาด้วยในเวลานั้น คือ ยันต์พระและเถ้าธูปของพระท่ามกงเยี่ย

ในที่สุดเรือของท่านมาขึ้นฝั่งที่เมืองไทยโดยปลอดภัย ท่านก็หางานทำไปเรื่อยๆจนมาถึงเมืองตรัง .. บริเวณที่ท่านลงหลักปักฐานครั้งแรก คือ ตำแหน่งศาลเจ้าในปัจจุบัน ท่านสร้างกระท่อมมุงจากเล็กๆ ปลูกผักขาย พร้อมจัดหาโต๊ะบูชาขึ้นมาพร้อมกระถางธูป เพื่อสักการะผืนผ้ายันต์และเถ้าธูปของพระท่ามกงเยี่ยที่ท่านได้นำมา ท่านบูชาทุกวันมิได้ขาด ทุกสิ่งเป็นไปตามปกติมิได้มีสิ่งพิเศษใดๆปรากฏ .. ต่อมาได้มีชาวบ้านมาขอร่วมสักการบูชาด้วย จากจุดนี้จึงมีความเลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าผู้คนมาบูชาขอความช่วยเหลือใดๆ ล้วนประสบความสำเร็จ รักษาโรคภัยให้หายเจ็บ

ต่อมาชาวบ้านใกล้ไกลเมื่อทราบข่าว ต่างหลั่งไหลมาบูชามากขึ้น จนต้องขยับขยายกระท่อมให้ใหญ่กว่าเดิม แต่ก็ไม่เพียงพอ กระท่อมต้องขยับขยายถึง 3 ครั้ง แล้วจึงก่อสร้างเป็นตึกถาวรดังเช่นปัจจุบัน การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พุทธศักราช 2496 ช่วงที่มีการขยับขยายนั้น พระท่ามกงเยี่ยจึงเริ่มมีการลงประทับทรงเป็นครั้งแรก ท่านได้ชี้แนะการจัดโต๊ะหมู่บูชาด้วยตนเอง เพื่อให้ถูกต้องตามแผนคติดั้งเดิมเช่นภายในวัดเก้ามังกรในเมืองจีน การก่อสร้างในขณะนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของ นายสิน แซ่บู๊ จนกระทั่งสำเร็จ หากแต่ยังต้องขยับขยายก่อสร้างห้องเสมียน และคลังเก็บของ เงินทองที่ใช้ก่อสร้างก็มีไม่เพียงพอ  แต่พระท่ามกงเยี่ยได้สั่งให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป ท่านกล่าวว่าต่อไปเงินทองปัจจัยจะเพิ่มขึ้นเอง  พร้อมขยายก่อสร้างห้องผู้ป่วยและโรงทาน พร้อมขุดสระน้ำขนาดใหญ่ 2 สระ สระหนึ่งสำหรับปล่อยปลา อีกสระหนึ่งสำหรับปล่อยเต่าและตะพาบน้ำ ปัจจุบันสระเต่าและตะพาบน้ำได้ถูกยกเลิกไป เพราะมักมีคนมาแอบขโมยจับกิน และทำความสะอาดลำบาก จึงเป็นสระน้ำที่ไม่มีเต่าและตะพาบน้ำ

ระยะเวลาที่พระท่ามกงเยี่ยถูกอัญเชิญจากเมืองจีนจนมาถึงเมืองตรัง จากช่วงแรกที่ไม่ปรากฏเหตุการณ์ใดๆมาเป็นเวลา 68 ปี อีกประมาณ 50 ปีต่อมา ท่านได้แสดงบุญญาภินิหาร นับระยะเวลาทั้งสิ้น 120 ปีที่ท่านสถิตเป็นมิ่งขวัญเป็นศูนย์รวมจิตใจของพี่น้องชาวตรัง ทั้งจังหวัดใกล้ไกลและต่างแดน ปัจจุบันศาลเจ้าท่ามกงเยี่ยได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิธรรมคง โดยถูกต้องตามกฎหมาย วัตถุประสงค์เพื่อกิจการสาธารณะ เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และให้ทุนการศึกษาแก่บุตรธิดา เป็นต้น

รูป

ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย ชาวบ้านเรียกว่า “โรงพระท่ามกงเยี่ย” นับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตรัง นับตั้งแต่แรกเกิดจากครรภ์มารดาเมื่ออายุครบเดือนบิดามารดาจะพามาไหว้เพื่อขอให้พระท่ามกงเยี่ยรับไว้เป็นบุตร โดยการบอกวันเดือนปีเกิดให้เจ้าหน้าที่ศาลเลือกชื่อให้ตามสมควรแล้วจึงเสี่ยงโปยถามพระ โดยมากบุตรของท่านทุกคนจะมีชื่อกลางเดียวกันว่า ท่าม ไม่ว่าชาวบ้านจะมีทุกข์โศกโรคภัย วารดิถี งานเทศกาล หรือประสบความสำเร็จใดๆ ก็จะมีลูกหลานมากราบไหว้สักการบูชาเสมอกล่าวว่าเซียมซีของท่านแม่นยำผู้คนมักนิยมบนท่านด้วยหมูย่างทั้งตัวหรือย่อมลงมาตามกำลังศรัทธาและทุนทรัพย์ หรือความเกี่ยวข้อง ความสำเร็จในกิจการนั้นๆ โดยเฉพาะในวันหยุดหรือเทศกาลสำคัญ ลูกหลานจะพร้อมใจกันมาสักการบูชาท่านอย่างเนืองแน่น ถึงแม้ว่าพระท่ามกงเยี่ยจะไม่ลงประทับทรงเลยหลังจาก นายเหล่าซาม ชาวย่านตาขาวร่างทรงได้ถึงแก่กรรมเมื่อปีพุทธศักราช 2516 นับจนปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี

สภาพในปัจจุบัน ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย มีพื้นที่กว้างขวาง มีสระน้ำแลดูร่มรื่น ตัวศาลเจ้าเป็นอาคารชั้นเดียว เบื้องหน้าอาคารมีแท่นบูชาฟ้าดิน พระถี่ก๋งหรือเทียนสิน หน้าประตูจารึกพระนาม พระท่ามกงเยี่ย พร้อมกลอนคู่คำกวางตุ้ง ซินเหล่งอิ๋นฮัก เสงเซ่าโหม่วเกิง จิตวิญญาณของเซียนอมตะให้ยิ่งใหญ่และปรากฏชัด ความศักดิ์สิทธิ์ให้ยั่งยืนไม่มีขอบเขต

ภายในอาคารศาลเบื้องหน้ามีแท่นบูชาเทวดารวม ตรงกลางศาลมีบ่อฟ้าโดยธรรมเนียม ส่วนภายในมีแท่นบูชากลางเป็น พระท่ามกงเยี่ย แท่นบูชาเบื้องขวาเป็น พระซำฮวบซือ หรือ เจ้าพ่อหมื่นราม นอกจากนี้ยังมี เจ้าพ่อเสือ พระท้ายปักกุง และ พระโพธิสัตว์กวนอิม
เนื่องจากมีสาธุชนมาสักการะพระท่ามกงเยี่ยเป็นจำนวนมาก พื้นที่ภายในศาลจึงดูคับแคบ ทางศาลเจ้าจึงเปิดกำแพงทั้งสองฝั่ง เพื่อระบายอากาศและสามารถรองรับสาธุชนให้ได้รับความสะดวกขึ้น เหนือประตูเมื่อออกจากศาลจะมีป้ายบ่งบอกว่า ศาลนี้สร้างด้วยความร่วมใจระหว่างลูกหลานทั้ง 2 มณฑล คือ กวางตุ้งและฮกเกี้ยน รวมถึงชาวไหหลำซี่งไม่แยกเป็นมณฑลแห่งใหม่ ส่วนภายนอกอาคารศาลมีมีอาคารเป็นเรือนนอนรักษาผู้ป่วย อาคารโรงครัว โรงงิ้ว สระน้ำ และศาลากลางน้ำ

E10583654-65

ศาลากลางน้ำ

ด้านหน้าศาลเจ้า

ด้านหน้าศาลเจ้า

po3

 

โต๊ะ1

 

po4

 

 

 

 

 

โต2

 

po5

 

 

 

 

โต3

 

po6

 

 

 

 

โต4

po7

โต5

po8

 

 

 

โต6

 

po9

 

 

 

 

7

หลังจากหนั้นจุดไฟกระดาษทองและไหว้ด้านหน้าศาลเจ้า

แผนที่1

 

ทางเข้าศาลเจ้า (ถ่ายจากด้านในศาลเจ้า)

ทางเข้าศาลเจ้า (ถ่ายจากด้านในศาลเจ้า)